Pages

<--ดูคลิปปัญหาแอร์เสียได้ที่นี่

Thursday, March 23, 2017

สร้าง เทลเลอร์ แบบบ้านๆ ตอน 2

    ถึงตรงนี้จะมาแนะนำวิธีซื้อของครับ ส่วนใหญ่ผมจะซื้อของจากห้าง ไม่ได้ซื้อตามร้านอุปกรณ์ก่อสร้างครับ เพราะเราไม่ใช่ช่าง ฉนั้นจะมีปัญหามากในการสื่อสารกับเจ้าของร้านเหล่านี้ หรือกับเด็กหน้าร้าน เพราะช่างและร้านเหล่านี้เค้าจะมีภาษาช่างของเค้า แต่บางอย่างภาษาจากในเน็ตจะแตกต่างกันมากในการเรียกอุปกณ์ของในแต่ละท้องที่ อีกอย่างที่น่ารำคาญสุดๆ คือ ถามว่า "เอาไปทำอะไร" หรือ พูดว่า "ไม่มีใครเค้าทำกันหรอก" ผมเลยตัดปัญหานั้นครับ ในห้างที่ขายอุปกรณ์ก่อสร้าง สบายใจสุด เช่น โฮมมอลล์ โฮมโปร ไทยวัสดุ ดูโฮม ครับ เดินเลือกได้เต็มที่ไม่มีใครมาคอยเดินตาม บางอย่างบางชนิดเราเอามาประยุคใช้ร่วมกันได้ ตามจินตนาการณ์ 555


แขนสำหลับลาก ใช้เหล็ก 1.5x3 นิ้ว หนา 1.6 มิล ประกบกันสองอันนะครับ มันจะพอดีกับชุดครอปเปอร์พอดีครับ ไว้สำหรับ จั้มกับหัวบอลที่ติดกับท้ายรถยนต์เรา 

ติดตั้งที่ยึดหัวบอลกับกันชนท้ายรถยนต์ครับ ที่เห็นนี้มันบางไปนะครับ ดูแล้วไม่ปลอดภัย อันใหม่ผมทำใหม่ไม่ได้ถ่ายไว้ แข็งแรงใช้เหล็กให้หนาขึ้น

เมื่อโครงผนังเสร็จก็เริ่มใส่ผนังกันครับ ผมใช้สังกระสีเหมือนเดิม อย่าลืมวางซิลิโคนนะครับ ไม่งั้นจะเสียงดังจากสังกระสีครับ เมื่อใส่แล้วเคาะดูจะแน่นๆ ยิงรีเวทถี่ๆได้ครับ

เว้นช่องสำหรับหน้าต่าง และใส่บานพับสำหรับเปิดปิด

อันนี้เป็นฝาข้างครับ เปิดปิดได้ แผ่นใหญ่เลย เวลาเปิดแล้วค้ำยันกับพื้นจะกลายเป็นหลังคาไปในตัวครับ

อัดซิลิโคนทุกจุดครับ เคยเห็นรถกระบะบรรทุกหลังคาสูงบางคันวิ่งผ่านแล้วได้ยินเสียงดังโคร่งๆ แล้วรู้สึกไม่ชอบครับ อัดกาวแบบนี้แล้วเงียบสนิท

เริ่มเดินท่อสายไฟภายในครับ จุดสำหรับใส่ปลั๊กไฟ อุปกรณ์แสงสว่าง ไฟส่องป้ายภายนอก และท่อน้ำ ท่อน้ำทิ้งต่างๆ จริงแล้วตั้งใจว่าจะต้องมีฉนวนกันความร้อนทั้งตู้ และทำภายในอีกชั้น เพื่อความสวยงามและดูดี แต่ต้องใช้งบเยอะอยู่ เลยปล่อยเปลือยแบบนี้ไปก่อนครับ

ติดตั้งซิ้งสำหรับล้างจานและระบบน้ำ ที่สามารถต่อน้ำประปาจากภายนอกเข้ามาใช้งานได้ มีระบบน้ำทิ้งและถังดักไขมัน รวมถึงระบบไฟและน้ำสำรองกรณีไม่มีน้ำจากภายนอกครับ 

ทำขาหลังครับ สำหรับเวลาเราปลดออกจากรถยนต์แล้วสามารถตั้งตรงอยู่ได้และมันคงปรับระดับได้ด้วยน๊อตเกลียวใหญ่ๆแบบนี้ จริงๆมีขายแบบสำเร็จมีมือหมุนให้ ง่ายสะดวก แต่มันก็แบบว่าแพงน่ะครับ 555 แอบบอกว่าอุปกรณ์สำหรับเทรลเลอร์ในยุคที่ผมทำอยู่นี่ (1997) ราคาแพงมากครับ ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักแพร่หลายเหมือนปัจจุบัน หลายอย่างจะต้องสั่งจากต่างประเทศเท่านั้น เป็นที่รู้กันเฉพาะกลุ่ม

แบบนี้ครับ ต้องใช้คู่กับขาหน้าด้วยนะครับ

เก็บพับขึ้นมาได้เวลาเราเคลื่อยย้าย

เมื่อทุกอย่างพร้อมก็ทำสีครับ ทั้งภายในและภายนอก ตัวเหล็กทำสีกันสนิมไว้ก่อนแล้วนะครับ 

เมื่อทำสีภายนอกแล้วครับ

ภายในติดไฟส่องสว่าง เริ่มนำอุปกรณ์ที่จำเป็มาวางดูครับ

พัดลมดูดอากาศ

เสร็จแล้วย่องลากไปไว้ที่ๆจะขายของกันคืนนั้นเลยครับ ระยะทางราวๆ 30 กิโลเมตร วิ่งได้นิ่งมาก ไม่หนักอย่างที่คิด มีเต้นบ้างเพราะน้ำหนักบรรทุกยังไม่มี วิ่งด้วยความเร็ว 40-60 กม./ชม. 

ติดป้ายและเปิดขายได้แล้วครับ 

ดีงาม คุณนายชอบ ทุกอย่างถูกเก็บไว้ในเทรลเลอร์หมดครับ ถึงเวลาปิดก็เลื่อนทุกอย่างกลับเข้าไปแล้วปิดฝา ฝนตก แดดออกก็ยังพอมีที่หลบครับ 

ถึงตรงนี้บางท่านอาจคิดว่าไม่เห็นจำเป็นต้องสบายอะไรขนาดนี้ แต่สำหรับหัวอกคนค้าขายข้างถนนน่าจะเข้าใจกันดีครับ คิดว่าอย่างงั้น


Tuesday, March 21, 2017

สร้าง เทลเลอร์ แบบบ้านๆ ตอน 1

     เทลเลอร์สำหรับขายของที่ผมจะต่อขึ้นมานี้ มีความยาวเฉพาะตัวตู้ ราวๆ 4 เมตร รวมแขนสำหรับลากอีก 1 เมตร รวมเป็น 5 เมตร กว้าง 1.90 เมตร ตามกฏหมาย สูง 2.5 เมตร ซึ่งจะเห็นว่าสูงและดูใหญ่มาก พอๆ กับรถกระบะคันนึงเลยทีเดียว

    ด้วยงบจำกัด จึงคิดไว้ว่าทำตัวตู้ขึ้นมาใช้ก่อน ส่วนภายในค่อยๆตกแต่งทีหลัง เสียดายตอนออกแบบไม่ได้เก็บรายละเอียดไว้ แต่ก็ไม่มีอะไรมาก ใช้มือเขียนๆ จดๆ ไว้ในสมุด ง่านส่วนใหญ่อยู่ในหัวครับ ใช้จินตนาการณ์ล้วนๆ 555


     เริ่มแรกก็ทำแชสซีก่อนครับ ด้วยเหล็กกล่อง 1.5x3 นิ้ว หนา 2 มิล ทำกันหน้าบ้านเลย ที่ก็แคบเข้าบ้านทีต้องกระโดดเล่นตังเตกันไปครับ 

ต้องคำนวนการซื้อของซื้อเหล็กนะครับ เพราะว่าไม่มีที่เก็บ ถ้าเหล็กใช้ไม่หมดวันนั้น เราจะเปิดประตูรั้วหน้าบ้านไม่ได้ครับ

ต่อมาเชื่อมโครงพื้น กับโครงหลังคาก่อนเลยครับ เพราะมันมีขนาดเท่ากัน เวลาทำงานเอามาทาบกันได้เลย อีกอย่างเวลาเก็บเราซ้อนกันได้ ใช้เล็กกล่อง 1x1 นิ้ว หนา 1.6 มิล ส่วนขอบตู้ ใช้ 2x2 นิ้ว หนา 1.6 มิล เพื่อความแข็งแรง และเป็นเสาให้กับตู้

โครงพื้นอย่าลืมเว้นช่องไว้สำหรับล้อและโครงรับบังโคลนของเทลเลอร์

เริ่มทาสีกันสนิมรองพื้นสำหรับโครงหลังคา

เชื่อมแขนสำหรับลากจูง

คุณนายมาช่วยทาสี

หลังคาผมใช้สังกระสีแผ่นเรียบนะครับ เอาแบบหนาหน่อย ก่อนวางก็ใช้ซิลิโคนลงไปก่อน เพื่อให้หลังคาแนบกับโคลงเหล็ก ป้องกันเสียง แล้วเจาะเพื่อยิงรีเวทครับ



จากนั้นประกอบหลังคากับแชสซีเข้าด้วยกันด้วยเสาสี่ต้นครับ ต้องเชื่อมเสากับหลังคาเข้าด้วยกันก่อน ในลักษณะนอนหงาย เพราะเราไม่มีเครนยก แล้วค่อยกลับหัวเอาเสาลง จากนั้นเชื่อมเสาสี่ต้นในแต่ละมุม

ได้โครงตู้แล้วครับ

 จากนั้นใส่ล้อกับเพลาโดยรัดด้วยสาแหรกแหนบ ผมไม่ใส่แหนบและโชคอัพเพราะ เราเป็นเทรลเลอร์ขายของ ไม่ได้บรรทุกของสำหรับขนส่ง ลากด้วยความเร็วไม่สูง (ไม่เกิน 60 กม./ชม.) ในระยะทางไม่ใกล อีกอย่างมันจะทำให้เทรลเลอร์เราสูงครับ มันจะลำบากตอนเราก้าวขึ้นลงเสริฟอาหาร

ล้อกับเพราทำด้วยท่อเหล็กขนาด 3 นิ้ว หนา 2 มิล ไปหาซื้อตามร้านขายของเก่าอีกตามเคย ตัดให้ได้ขนาดช่วงแชสซี แล้วเชือมปิดหัวท้ายด้วยหน้าแปลนเหล็กหนา 5 มิล แล้วเจาะรูไว้ยึดกันเพลาล้อของรถยนต์ เพลาผมเลือกใช้ของ ae101 นะครับ เป็นลูกปืนแบบแท่ง อึดและทน ใส่กับกระทะยางรถยนต์ขนาด 13 นิ้ว

เริ่มเห็นเป็นเทลเลอร์ขึ้นมาบ้างแล้ว ดูใหญ่และสูงมาก ปกติที่เห็นบ้านเราไม่ใหญ่ขนาดนี้

เริ่มใส่พื้น และโครงผนัง ต้องวางแผนไว้ก่อนแล้วว่าจะเอาอะไรวางตรงไหน เพราะพื้นที่ค่อนข้างจำกัด เช่นที่ล้างจาน จุดวางเตา วางตู้เย็น และส่วนจัดอาหาร ส่วนเก็บของ พื้นผมใช้แผ่นเฟล็กซี่บอร์ด หนา 5 มิล ตัดปูวางตามแนวโครงเหล็กแล้วยิงด้วยตะปูเกลียว

     ถึงตรงนี้ งานมาได้กว่าครึ่งทางแล้วครับ อย่างที่บอกไว้แต่ตอนต้นว่าเรามีพื้นที่ในการต่อเทลเลอร์ครั้งนึ้จำกัดมาก ถึงขั้นตอนขึ้นตู้ เราต้องทำกันนอกบ้าน นั่นคือบนถนนในหมู่บ้าน เลยเป็นเหตุให้คนในซอยไม่ค่อยพอใจ เพราะเกิดเสียงดังบ้าง มีกลิ่นเชื่อมบ้าง ก็มีการฟ้องกับทางหมู่บ้านบ้าง เราเองก็เห็นใจ แต่เราไม่มีทางเลือกจริงๆ จึงต้องเร่งทำให้เสร็จ 

    ขณะเขียนนี่ก็ ตีสี่แล้ว เอาเป็นว่ามาต่อพรุ่งนี้นะครับ 

<--ดูคลิปปัญหาแอร์เสียได้ที่นี่